ทุนบูรณาการวิจัยเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ยั่งยืน คณะวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2568

        เพื่อส่งเสริม และผลักดันโครงการที่มาจากงานวิจัยหรืองานวิชาการที่ได้ข้อค้นพบหรือองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนา นำมาสู่การปฏิบัติในสถานการณ์จริง เพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนหรือสังคมระดับพื้นที่ สร้างความตระหนักรู้หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อนำมาสู่ชุมชน หรือสังคมที่ดีขึ้นในมิติทางสิ่งแวดล้อม สังคม และ/หรือเศรษฐกิจ เพื่อให้ได้ผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมที่มีคุณค่า สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และสร้างผลกระทบที่ดีต่อสังคม

การสมัครขอรับทุน :

1. กำหนดการรับสมัครทุน เปิดรับสมัครโครงการวิจัยขอทุน  ปีละ  2  รอบ

 รอบที่ 1 1 – 28 กุมภาพันธ์ 2568
 รอบที่ 2  จะประกาศให้ทราบในภายหลัง

  2. เอกสารประกอบการขอรับทุน

 2.1 ข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์
 2.2 เอกสารจริยรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
 2.3 CV หัวหน้าโครงการและผุ้ร่วมโครงการวิจัย

  • ให้ทุนโครงการละ 250,000 – 500,000 บาท ภายในระยะเวลา 1 ปี คณะวิทยาศาสตร์อาจสนับสนุนให้ทุนต่อเนื่องในปีที่ 2 ให้แก่โครงการที่ได้รับทุนในปีที่ 1 แล้วก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับผลการดำเนินโครงการของปีที่ 1
  •  ให้จ่ายเงินทุนนี้เป็นค่าวัสดุ และค่าใช้สอยที่ใช้ในการทำวิจัยที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาทุน สำหรับค่าใช้จ่ายรายการอื่นให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการพิจารณาทุน
    การเบิกจ่ายเงินทุน แบ่งเป็น 2 งวด ดังนี้
    งวดที่ 1 เป็นจำนวนเงินร้อยละ 60  ของเงินทุนทั้งหมด เมื่อทำสัญญารับทุนเรียบร้อยแล้ว
    งวดที่ 2 เป็นจำนวนเงินร้อยละ 40 ของเงินทุนทั้งหมด เมื่อผู้รับทุนส่งรายงานความก้าวหน้ารอบ 6 เดือน

ลักษณะของโครงการที่เสนอขอรับทุน :

  1.  เป็นโครงการที่มาจากงานวิจัยหรืองานวิชาการที่ดำเนินงานเสร็จสิ้นแล้ว ได้ข้อค้นพบ และ/หรือองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหา และ/หรือพัฒนา และนำมาสู่การปฏิบัติ (Implement) ในสถานการณ์จริง (Real word) เพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนและ/หรือสังคมระดับพื้นที่ สร้างความตระหนักรู้หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อนำมาสู่ชุมชนและ/หรือสังคมที่ดีขึ้นในมิติทางสิ่งแวดล้อม สังคม หรือเศรษฐกิจ
  2.  เป็นโครงการที่ระบุพื้นที่ดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย และประเด็นการขับเคลื่อนอย่างชัดเจน เช่น ประเด็นที่ต้องการแก้ปัญหา สร้างความตระหนักรู้ หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นต้น รวมทั้งระบุกลยุทธ์ การบวนการหรือแนวทางที่จะใช้สำหรับขับเคลื่อนเพื่อแก้ปัญหาชุมชนและ/หรือสังคมระดับพื้นที่
  3. เป็นโครงการวิจัยที่มีความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายต่างๆ เช่น องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและ/หรือชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ และ/หรือผู้รับประโยชน์ที่นำไปสู่การผลักดันนโยบายได้
  4. เป็นโครงการที่กำหนดแผนงาน ตัวชี้วัดผลการดำเนินการของกระบวนการ (Process Indicator) ผลลัพธ์ของกระบวนการ (Result Indicator) และผลกระทบ (Impact) โดยกำหนดกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน

นางสาวอรวรรณ ไวทยะสิน

อีเมล์: orawan.wai@mahidol.ac.th

โทร: 0 2201 5049