ทุนวิจัยจากเงินรายได้มหาวิทยาลัย
มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัยรุ่นใหม่ ริเริ่มทำวิจัยให้มีผลงานวิจัยเบื้องต้น เพื่อพัฒนาทักษะและความสามารถในการวิจัยให้มีศักยภาพสูงขึ้น และสามารถขอทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกต่อไปได้
• ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง ทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่ พ.ศ. 2563
กำหนดการรับสมัคร : ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์, 30 มิถุนายน และ 31 ตุลาคม ของทุกปี
แบบเสนอขอทุนอุดหนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล
• ทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่ (แบบ MU: 01)
• Research Grant Application Form, Mahidol University (Form MU : 01)
แบบตรวจสอบเอกสารประกอบการขอทุนจากเงินรายได้มหาวิทยาลัยมหิดล
• ทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่
มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ มีผลงานวิจัย องค์ความรู้ใหม่ และนวัตกรรมที่มีคุณภาพสูง เป็นที่ยอมรัยในระดับสากล และเป็นที่ต้องการของสังคม สร้างชื่อเสียงในระดับโลก
• ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง ทุนส่งเสริมพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
• ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง ทุนส่งเสริมพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562
กำหนดการรับสมัคร : เปิดรับสมัครตลอดปี
แบบเสนอขอทุนอุดหนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล
• ทุนสนับสนุนกลุ่มวิจัย (Research Cluster) แบบบูรณาการและสหสาขา (Integrated and Multidisciplinary) (แบบ MU: 01-1)
• ทุนสนับสนุนกลุ่มวิจัย (Research Cluster) แบบนักวิจัยหลายรุ่น (Multi – generation Researchers) (แบบ MU: 01-2)
• ทุนสนับสนุนกลุ่มวิจัยแบบบูรณาการ ในพื้นที่ภาคกลาง และกับวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยมหิดล (กาญจนบุรี นครสวรรค์ หรือ อำนาจเจริญ) (แบบ MU: 01-3)
แบบตรวจสอบเอกสารประกอบการขอทุนจากเงินรายได้มหาวิทยาลัยมหิดล
• ทุนสนับสนุนกลุ่มวิจัย (Research Cluster) แบบบูรณาการและสหสาขา (Integrated and Multidisciplinary)
• ทุนสนับสนุนกลุ่มวิจัย (Research Cluster) แบบนักวิจัยหลายรุ่น (Multi – generation Researchers)
• ทุนสนับสนุนกลุ่มวิจัยแบบบูรณาการ ในพื้นที่ภาคกลาง และกับวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยมหิดล (กาญจนบุรี นครสวรรค์ หรือ อำนาจเจริญ)
• ทุนสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก
มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรสายวิชาการ คณาจารย์ และนักวิจัย ทำวิจัยที่นำไปสู่การค้นพบองค์ความรู้ที่เป็นเชิงลึก และผลิตผลงานที่มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการระดับสากล โดยเฉพาะงานวิจัยที่มีลักษณะเป็นการค้นคว้า วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ (New Discovery) หรือบุกเบิกศาสตร์แขนงใหม่ (Frontier Research)
กำหนดการรับสมัคร : เปิดรับสมัครโครงการวิจัยขอทุน ปีละ 3 รอบ (ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์, 30 มิถุนายน และ 31 ตุลาคม ของทุกปี)
แบบเสนอขอทุนอุดหนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล
• ทุนวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ (New Discovery) และบุกเบิกศาสตร์แขนงใหม่ (Frontier Research) (แบบ MU: 01-4)
ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบายสนับสนุนการสร้างนักวิจัยที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ให้มีงานวิจัยทำอย่างต่อเนื่องและเต็มเวลา เพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ในสาขาต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ให้มีโอกาสสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพในระดับสูง เป็นที่ยอมรับในระดับสากล มหาวิทยาลัยมหิดลจึงกำหนดให้มีทุนสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยขึ้น
• ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง แนวปฏิบัติในการสมัครขอทุนและรับทุนสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก จากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2562 [19 พฤศจิกายน 2562]
• ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง ทุนสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก พ.ศ. 2562 [19 พฤศจิกายน 2562]
• ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง แนวปฏิบัติในการสมัครขอทุนและรับทุนสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก จากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2561 [3 ธันวาคม 2561] (ยกเลิก)
• ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง ทุนสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก พ.ศ.2561 [14 กันยายน 2561] (ยกเลิก)
• ใบสมัครขอรับทุน ฯ : Application for a Postdoctoral Fellowship Mahidol University (Form MU : 04)
• แบบรายงานความก้าวหน้า 6 เดือน (Sixth – Months Progress Report for Postdoctoral Fellowship Program)
• แบบประเมินตนเอง (ANNUAL SELF – ASSESSMENT FOR POSTDOCTORAL FELLOW)
• แบบประเมิน โดย Advisor (PERFORMANCE APPRAISAL FORM)
ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบายสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมให้มีคุณภาพในระดับสากลและเป็นที่ต้องการของสังคม สร้างชื่อเสียงระดับโลก โดยส่งเสริมพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรม (ประเภทกลุ่มวิจัยขนาดเล็ก) ซึ่งมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่อง จนเป็นกลุ่มวิจัยศักยภาพสูงที่จะขยายเป็นศูนย์วิจัยสหสาขา หรือ Mahidol University – Multidisciplinary Research Center (MU – MRC)
กำหนดการรับสมัคร : เปิดรับสมัครตลอดทั้งปี
แบบเสนอขอทุนอุดหนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล
• ทุนส่งเสริมพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรม (ประเภทกลุ่มวิจัยขนาดเล็ก) Mahidol University Mini – Research Cluster (MU – MiniRC) (แบบ MU: 01-5)
• การตรวจสอบคุณสมบัติ การขอทุนส่งเสริมพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรม (ประเภทกลุ่มวิจัยขนาดเล็ก) Mahidol University Mini – Research Cluster (MU – MiniRC)
ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบายสนับสนุนการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรม เพื่อสร้างความเป็นเลิศทาวิชาการ มีผลงานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ และนวัตกรรมที่มีคุณภาพสูง มีค่าการอ้างอิงสูง และมีการนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงพาณิชย์และเชิงนโยบายระดับประเทศและระดับสากล เพื่อยกระดับมหาวิทยาลัยมหิดลไปสู่มหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศด้านการศึกษาและวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดลจึง กำหนดการให้ทุนเสริมสร้างพันธมิตรการวิจัยต่างประเทศ (Mahidol University-Global Partnering Initiative: MU-GPI)
กำหนดการรับสมัคร : เปิดรับสมัครตลอดทั้งปี
• ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง ทุนเสริมสร้างพันธมิตรการวิจัยต่างประเทศ (Mahidol University–Global Partnering Initiative: MU–GPI) พ.ศ. 2563
แบบเสนอขอทุนอุดหนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล
- แบบเสนอขอทุนอุดหนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล ประเภททุนเสริมสร้างพันธมิตรการวิจัยต่างประเทศ (MU–GPI) (แบบ MU: 01–6)
- รายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยที่ได้รับทุนเสริมสร้างพันธมิตรการวิจัยต่างประเทศ (Mahidol University–Global Partnering Initiative: MU–GPI) (แบบ MU: 02)
- หัวข้อเกี่ยวกับส่วนประกอบในการจัดทำรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เสนอมหาวิทยาลัยมหิดล (แบบ MU: 03)
- แบบฟอร์มตรวจสอบคุณสมบัติการขอทุนเสริมสร้างพันธมิตรการวิจัยต่างประเทศ (Mahidol University–Global Partnering Initiative: MU–GPI)
• การส่งรายงานวิจัย
การส่งรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย
ให้เสนอรายงานความก้าวหน้าตามแบบรายงานความก้าวหน้า MU : 02 เมื่อครบกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่ได้รับเงินทุนวิจัย จำนวน 4 ชุด
การส่งรายงานฉบับสมบูรณ์
• รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ตามแบบ MU : 03 จำนวน 5 ชุด
• เอกสารงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ (กรณีผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์แล้ว) จำนวน 3 ชุด
ทั้งนี้ ในเอกสารงานวิจัยข้างต้น ผู้ได้รับทุนต้องระบุในกิตติกรรมประกาศว่า “โครงการวิจัยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล” หรือ “This research project is supported by Mahidol University”
เพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีการเพิ่มจำนวนผลงานตีพิมพ์และการอ้างอิงผลงานทางวิชาการ (Citation)
ตลอดจนการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณชนในวงกว้างโดยปราศจากการจำกัดการเข้าถึงบทความ
นักวิจัยไม่ต้องยื่นขอรับการสนับสนุน ทางกองบริหารงานวิจัยจะเป็นผู้สืบค้นข้อมูล และติดต่อมายังนักวิจัยโดยตรง
• ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง เกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสนับสนุนการตีพิมพ์บทความวิจัย (Original Article) หรือบทความปริทัศน์ (Review Article) ที่มีค่า Article Processing Charge (APC) พ.ศ. 2562 [19 พฤศจิกายน 2562]