กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (English Version)”
งานวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (English Version)” ขึ้นในวันที่ 28 – 29 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้องประชุม อาคารสตางค์มงคลสุข โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์และประธานคณะกรรมการความคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเปิดงาน และชี้แจงภาพรวมของการอบรมเชิงปฏิบัติการ “Fundamental Biosafety for BSL-2 (English Version)” การอบรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งบุคคลภายในและภายนอก อาทิ เจ้าหน้าที่บริหารชีวนิรภัยของหน่วยงาน (BSO) นักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเชื้อโรคหรือพิษจากสัตว์ จากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้เป็นชาวต่างชาติมากกว่า 70%
การจัดกิจกรมมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานในห้องปฏิบัติการทางชีวภาพ ตลอดจนความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับ และแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่อให้บุคลากรนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพให้สามารถทำงานกับเชื้อโรคได้อย่างปลอดภัยทั้งต่อตนเองและบุคคลทั่วไป และได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำวิจัยเพื่อร่วมกันหาแนวทางในการจัดการห้องปฏิบัติการให้มีความปลอดภัย นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังได้รับการฝึกอบรมภาคทฤษฎีจากคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญซึ่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพตามมาตรฐานสากล ได้แก่ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ ชัยชมภู 2. อาจารย์ ดร.เยาวรินทร์ นครภักดี 3. อาจารย์ ดร.ธน เตชะเลิศไพศาล 4. อาจารย์ ดร.รดีกร อัครวงศาพัฒน์ 5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กรกมล เลิศสุวรรณ 6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง 7.อาจารย์ ดร.อัมพา สุขสาธุ 8.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมธา มีแต้ม 9. รองศาสตราจารย์ ดร.สุรางค์ ชาญกำแหงเดชา 10.คุณเยาวพา พ่วงหลาย11.อาจารย์ดวงเนตร อิศรางกูร ณ อยุธยา 12. คุณชนิตา นภาสวัสดิ์ 13. คุณสุวิมล มานพวิเศษเจริญ 14. คุณจิตรา ลิ้มทองกุล 15. คุณเชิญขวัญ เค้าฝาย อีกทั้งยังได้รับเกียรติจากบริษัท เอสโคไลฟ์ไซเอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด เข้าร่วมบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรมอีกด้วย
โดยผู้เข้าอบรมได้ฝึกปฏิบัติจริงในสถานที่จริงด้วยเหตุการณ์จำลองเสมือนจริง ซึ่งถูกจัดทำขึ้น ณ อาคารสตางค์มงคลสุข เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงาน โดยได้รับเกียรติจากคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ ในการฝึกอบรมภาคปฏิบัติทั้งหมด 4 ฐานปฏิบัติการแก่ผู้เข้าอบรม อีกทั้งยังมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับเครื่องมืองวิทยาศาสตร์ จากบริษัท บริษัท เอสโคไลฟ์ไซเอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เคโมไซเอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (สำนักงานใหญ่) และบริษัท กิบไทย จำกัด (สำนักงานใหญ่) อีกด้วย
ขอขอบคุณ คณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ภาควิชาจุลชีววิทยา งานพันธกิจพิเศษ งานความร่วมมือระหว่างประเทศ งานพัฒนาระบบ และผู้ให้การสนับสนุนทุกท่าน