ทุนวิจัยจากเงินรายได้มหาวิทยาลัย

มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ มีผลงานวิจัย องค์ความรู้ใหม่ และนวัตกรรมที่มีคุณภาพสูง เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และเป็นที่ต้องการของสังคม สร้างชื่อเสียงในระดับโลก

มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ มีผลงานวิจัย องค์ความรู้ใหม่ และนวัตกรรมที่มีคุณภาพสูง มีค่าการอ้างอิงสูง และมีการนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงพาณิชย์และเชิงนโยบายระดับประเทศและระดับสากล ด้วยการสร้างพันธมิตรด้านการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน ส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ซึ่งจะนำไปสู่การผลิตผลงานตีพิมพ์และนวัตกรรมคุณภาพสูง มีผลกระทบในวงกว้าง และการอ้างอิงสูง รวมทั้งเกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และทรัพยากรวิจัย นำไปสู่การยกระดับความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรในระยะยาวและยกระดับมหาวิทยาลัยมหิดลไปสู่มหาวิทยาลัยที่มีความเป็นเลิศด้านการศึกษาและวิจัย

รายละเอียดเพิ่มเติม

•    ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง ทุนส่งเสริมความร่วมมือภายใต้เครือข่ายพันธมิตรการวิจัยด้านวิศวกรรมชีวเวชและชีววัสดุ มหาวิทยาลัยมหิดล–มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (MU-KMUTT Biomedical Engineering & Biomaterials Research Consortium) พ.ศ. 2565

กำหนดการรับสมัคร : เปิดรับสมัครตั้งแต่ 1 มกราคม 2566 - 28 กุมภาพันธ์ 2566

แบบเสนอขอทุนฯ
แบบเสนอขอทุนอุดหนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล ประเภททุนส่งเสริมความร่วมมือภายใต้เครือข่ายพันธมิตรการวิจัยด้านวิศวกรรมชีวเวชและชีววัสดุ มหาวิทยาลัยมหิดล–มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (MU-KMUTT Biomedical Engineering & Biomaterials Consortium) (แบบ MU : 01-7)
•  แบบฟอร์มตรวจสอบคุณสมบัติการขอทุนส่งเสริมความร่วมมือภายใต้เครือข่ายพันธมิตรการวิจัยด้านวิศวกรรมชีวเวชและชีววัสดุ มหาวิทยาลัยมหิดล–มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (MU-KMUTT Biomedical Engineering & Biomaterials Consortium)
 Multidisciplinary)

ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบายสนับสนุนการสร้างนักวิจัยที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ให้มีงานวิจัยทำอย่างต่อเนื่องและเต็มเวลา เพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่ในสาขาต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ให้มีโอกาสสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพในระดับสูง เป็นที่ยอมรับในระดับสากล มหาวิทยาลัยมหิดลจึงกำหนดให้มีทุนสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยขึ้น

รายละเอียดเพิ่มเติม

 

•    ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง ทุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก พ.ศ. 2565 [7 พฤศจิกายน 2565]

•   ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง แนวปฏิบัติในการสมัครขอทุนและรับทุนสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก จากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2562 [19 พฤศจิกายน 2562] 
•   ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง ทุนสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก พ.ศ. 2562 [19 พฤศจิกายน 2562] (ยกเลิก)
•   ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง แนวปฏิบัติในการสมัครขอทุนและรับทุนสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก จากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2561 [3 ธันวาคม 2561] (ยกเลิก)
•   ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง ทุนสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก พ.ศ.2561 [14 กันยายน 2561] (ยกเลิก)

•   ใบสมัครขอรับทุน ฯ : Application for a Postdoctoral Fellowship Mahidol University (Form MU : 04)

•   แบบรายงานความก้าวหน้า 6 เดือน (Sixth – Months Progress Report for Postdoctoral Fellowship Program)
•   แบบประเมินตนเอง (ANNUAL SELF – ASSESSMENT FOR POSTDOCTORAL FELLOW)
•   แบบประเมิน โดย Advisor (PERFORMANCE APPRAISAL FORM)

•   การส่งรายงานวิจัย
การส่งรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย
ให้เสนอรายงานความก้าวหน้าตามแบบรายงานความก้าวหน้า MU : 02 เมื่อครบกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่ได้รับเงินทุนวิจัย จำนวน 4 ชุด

การส่งรายงานฉบับสมบูรณ์
•   รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ตามแบบ MU : 03 จำนวน 5 ชุด
•   เอกสารงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ (กรณีผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์แล้ว) จำนวน 3 ชุด

ทั้งนี้ ในเอกสารงานวิจัยข้างต้น ผู้ได้รับทุนต้องระบุในกิตติกรรมประกาศว่า “โครงการวิจัยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล” หรือ “This research project is supported by Mahidol University”

เพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีการเพิ่มจำนวนผลงานตีพิมพ์และการอ้างอิงผลงานทางวิชาการ (Citation)
ตลอดจนการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณชนในวงกว้างโดยปราศจากการจำกัดการเข้าถึงบทความ